Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10388
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปธาน สุวรรณมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | ทองคำ มีหิริ, 2510- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-11-09T08:21:04Z | - |
dc.date.available | 2023-11-09T08:21:04Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10388 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำของ องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและเครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย จำนวน 1 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 5 คน กลุ่มสมาชิกสภาฯ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 8 คน กำนัน จำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสายพอสมควร ในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการเสนอโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านการจัดเตรียมงบประมาณ ได้มีการวาง แผนการใช้งบประมาณร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านการพิจารณาอนุมัติแผนพัฒนาร่วมกับคณะกรรมการแผนพัฒนา ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการมีการสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ สำหรับด้านการประสานงานหน่วยงานราชการอื่น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม 2) ปัญหาอุปสรรคได้แก่ 2.1) การมีส่วนร่วมด้านนโยบายและการวางแผน ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการประชาคมเสนอไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย ไม่มีการกำหนดนโยบายหรือวางแผนในการพัฒนาแหล่งน้ำ 2.2) ส่วนด้านงบประมาณ ไม่มีการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับนำมาใช้ในการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในตำบล 2.3) ด้านความร่วมมือของประชาชนในการดำเนินการ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำไม่มีการเสนอแผนงาน 2.4) ด้านการประสานงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการประสานของบประมาณเพื่อบูรณาการในการทำงานร่วมกัน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหองค์การบริหารส่วนตำบล 3.1) ควรมีการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมการร่วมวางแผน การร่วมดำเนินงาน การร่วมแก้ปัญหาหาทางออก โดยมีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอกำหนดโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกัน 3.2) ควรจัดทำงบประมาณด้านการบริหารและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ 3.3) ควรสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 3.4) ควรดำเนินการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำร่วมกัน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | แหล่งน้ำ--ไทย--การจัดการ | th_TH |
dc.subject | การพัฒนาแหล่งน้ำ--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.title | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี | th_TH |
dc.title.alternative | People's participation in the management of Water Resources of Khonsai Sub-district Administrative Organization, Trakanputphon District, Ubon Ratchathani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were (1) to study public participation in the management of the water resources of Khonsai Sub-district Administrative Organization; (2) to study problems with public participation in the management of the water resources of Khonsai Sub-district Administrative Organization; and (3) to recommend approaches to solving those problems. This was a qualitative research based on documentary research and interviews with 20 key informants, consisting of the chairman of Khonsai Sub-district Administrative Organization, 5 operations-level personnel, 5 council members, 8 village headmen and 1 sub-district headman. Data were analyzed through descriptive analysis. The results showed that local citizens participated to a reasonable degree in the policy-making and planning aspects of local water resources management, but most did not pay attention to proposing water resource development projects. In terms of financial management, citizens joined in planning the budget with the sub-district administrative organization personnel, and joined in considering development plans with the development plan committee. As for public participation in operations, cooperation with the people was created in water resource development. The people did not participate in coordinating with other government agencies. 2) Four major problems were identified: a) for policy and planning, the majority of citizens did not place importance on water resources development, and the Khonsai Sub-district Administrative Organization did not form relevant policies and plans; b) for budget, an annual expense budget was not prepared for developing water resources in the sub-district; c) for operations, the majority of citizens did not pay attention to the issue and did not submit water resource development plans; and d) for cooperative work, the sub-district did not request a budget for coordinated projects with relevant agencies. 3) The following approaches are suggested for solving the problems: a) the sub-district administrative organization should build mechanisms for public participation in the planning, operations and problem-solving steps, and should organize public forums to solicit suggestions for water resource management projects or activities; b) a budget should be planned specifically for water resource development and management for use in agriculture; c) greater public participation should be created for solving problems related to water resource development and management for use in agriculture; and d) the sub-district administrative organization should form agreements with related agencies for joint water resource management projects. | en_US |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
148774.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License