กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10388
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | People's participation in the management of Water Resources of Khonsai Sub-district Administrative Organization, Trakanputphon District, Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล ทองคำ มีหิริ, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี แหล่งน้ำ--ไทย--การจัดการ การพัฒนาแหล่งน้ำ--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำของ องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและเครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย จำนวน 1 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 5 คน กลุ่มสมาชิกสภาฯ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 8 คน กำนัน จำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสายพอสมควร ในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการเสนอโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านการจัดเตรียมงบประมาณ ได้มีการวาง แผนการใช้งบประมาณร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านการพิจารณาอนุมัติแผนพัฒนาร่วมกับคณะกรรมการแผนพัฒนา ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการมีการสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ สำหรับด้านการประสานงานหน่วยงานราชการอื่น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม 2) ปัญหาอุปสรรคได้แก่ 2.1) การมีส่วนร่วมด้านนโยบายและการวางแผน ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการประชาคมเสนอไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย ไม่มีการกำหนดนโยบายหรือวางแผนในการพัฒนาแหล่งน้ำ 2.2) ส่วนด้านงบประมาณ ไม่มีการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับนำมาใช้ในการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในตำบล 2.3) ด้านความร่วมมือของประชาชนในการดำเนินการ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำไม่มีการเสนอแผนงาน 2.4) ด้านการประสานงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการประสานของบประมาณเพื่อบูรณาการในการทำงานร่วมกัน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหองค์การบริหารส่วนตำบล 3.1) ควรมีการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมการร่วมวางแผน การร่วมดำเนินงาน การร่วมแก้ปัญหาหาทางออก โดยมีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอกำหนดโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกัน 3.2) ควรจัดทำงบประมาณด้านการบริหารและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ 3.3) ควรสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 3.4) ควรดำเนินการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำร่วมกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10388 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148774.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License