กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10405
ชื่อเรื่อง: แนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Local administrative organization's approach to resolving the insurgency in Sungai Kolok District Narathiwat Province in case of Sungai Kolok Town Municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษฎา ทัศญาณ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
การก่อความไม่สงบ--ไทย (ภาคใต้)
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทภาระหน้าที่ การมีส่วนร่วม และแนวทางการแก้ไขปัญหของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ที่มีค่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการดำเนินการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยเลือกกลุ่มประชากรแบบเฉพาะเจาะจงทั้งหมด 9 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 20 คน จากนั้นถึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา เพื่อประกอบคำอธิบาย ผลการวิจัยพบว่า การป้องกันและการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จะเป็นหน้าที่หลักของกองอำนวยการรักษาความมั่นคง (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนกำลัง 3 ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรา และฝ่ายปกครอง มีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลนั้นไม่ได้มีบทบาท ภาระหน้าที่ หรืออำนาจโดยตรงในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ เป็นเพียงหน่วยงานเสริม ประสาน หรือสนับสนุนในการดำเนินงานของทั้งสามฝ่ายเท่านั้น ในด้านของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่พบว่า เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบมากมายในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา และด้านความมั่นคง โดยให้ความสำคัญในด้านความมั่นคง ความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยของประชาชนมากที่สุด เทศบาลได้มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด CCTV กระจายอยู่ทุกมุมทั่วเมือง การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเหตุและการจ้างเหมาผู้รักษาความปลอดภับในพื้นที่ มีการประสานงานและบูรณาการภารกิจด้านความมั่นคงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาความปลอดภัยในพื้นที่ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่มีต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านความมั่นคง และด้านการข่าวเพื่อบรรเทาปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ข้อสนอแนะทางยุทธศาสตร์ด้านนโยบาย คือ (1) รัฐควรจัดให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษขึ้น ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) รัฐต้องให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารงานบุคคลและงบประมาณในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) รัฐต้องให้ความสำคัญในเรื่องการจัดระบบการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10405
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161943.pdfเอกสารฉบับเต็ม38.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons