Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10409
Title: บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านทอน หมู่ 11 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
Other Titles: Role of community leaders in building a strong community : a case study of Baan Thon, Moo 11, KhokKhian Sub-district, Mueang District, Narathiwa Province
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล
อูบัยดิลละห์ มะยุนุ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้นำชุมชน
การพัฒนาชุมชน
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการดำเนินบทบาทการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (3) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือก แบบเฉพาะเจาะจงคือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้นำแบบเป็นทางการได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และบุคคลท ี่เป็นผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ โต๊ะอิหม่าม ผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้นำวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสิ้น 9 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้นำชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญทั้งบทบาททางด้านสังคม บทบาททางด้านเศรษฐกิจ บทบาททางด้านการเมืองและบทบาททางด้านวัฒนธรรม บทบาทดังกล่าว สามารถที่จะแก้ปัญหาการว่างงาน ปัญหายาเสพติด รวมทั้งเกิดการรวมกลุ่มสามารถสร้างอาชีพและเกิดรายได้ในชุมชน โดยการให้ชุมชนตัดสินใจแก้ไขปัญหาและจัดการกับปัญหาด้วยพลังของคนในชุมชน ตลอดจนบทบาทในการอนุรักษ์และส่งเสริมสนับสนุนโดยการให้คุณค่าและความสำคัญกับหลักปฏิบัติด้านศาสนกิจและวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งสะท้อนออกในด้านภาษา ศาสนา การแต่งกาย และกิจกรรมประเพณีต่างๆ (2) ปัญหาอุปสรรคของผู้นำ พบว่า ผู้นำชุมชนท้องถิ่นจะพบปัญหาอุปสรรคขัดขวางในการดำเนินบทบาทการสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนคือขาดความสามัคคีร่วมมือจากคนในชุมชนขาดแรงสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะด้านของงบประมาณที่ล่าช้าและไม่เพียงพอ ทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ผู้นำต้องอาศัยการร่วมมือจากประชาชนในชุมชนและจากภาครัฐให้มากขึ้นรวมทั้งการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอในการดำเนินงานและ ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มหรือการประกอบอาชีพของกลุ่มให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้ ประชาชนในชมชนมีงานทำและมีรายได้ที่ดีขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10409
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143419.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons