Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10413
Title: บทบาทของเทศบาลตำบลกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มอาชีพ หมู่บ้านปากน้ำ ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Roles of municipality in strengthening the economy of occupational groups : a case study of Baknam Village in Kumphran Sub-district, Amphoe Wang Muang, Saraburi Province
Authors: วรวลัญช์ โรจนพล
สุจิตรา ยศวันทา, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--สระบุรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของเทศบาลตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในกลุ่มอาชีพหมู่บ้านปากน้ำ ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัด สระบุรี (2) ปัญหาและอุปสรรคของเทศบาลตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในกลุ่มอาชีพหมู่บ้านปากน้ำ ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี (3) แนวทางแก้ไขและสนับสนุน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในกลุ่มอาชีพหมู่บ้านปากน้ำ ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี โดยเทศบาลตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบ สัมภาษณ์และข้อมูลที่ได้จากเอกสาร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยประกอบด้วยกลุ่ม ประชากร 4 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 6 คน, ประธานกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จำนวน 1 คน, คณะกรรมการกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จำนวน 2 คน, สมาชิกกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของเทศบาลตำบลคำพรานในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน คือ บทบาทในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ เสนอความคิดริเริ่มกระบวนการดำเนินการ การแสวงหาทุนภายในสังคม และร่วมรับประโยชน์จากโครงการพัฒนากลุ่มอาชีพ (2) ปัญหาในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในกลุ่มอาชีพ คือ ปัญหาการมีส่วนร่วมที่ครอบครัวบางครอบครัวมีภาระในการดูแลครอบครัวจนไม่มีเวลาในการเข้ามามีส่วนร่วมกับเทศบาลและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง (3) แนวทางการแก้ไขในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในกลุ่มอาชีพ คือ การให้ความรู้กับประชาชนโดยผู้นำชุมชนต้องมีความกล้าคิด กล้าตัดสินใจสามารถผลักดันให้มีโครงการและกิจกรรมการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องหลากหลาย และให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในชุมชนได้อย่างดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10413
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150182.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons