กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10415
ชื่อเรื่อง: | การเมืองของการกำหนดแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2560-2562) ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง จังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Politics of making the three-year development plan (2017-2019) of the Khao Khlung Tambon administrative organization in Ratchaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนศักดิ์ สายจำปา รุ้งนภา เทียมเจริญ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบล--การวางแผน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของตัวแสดงที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการกำหนดแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง จังหวัดราชบุรี (2)ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองระหว่างตัวแสดงกับผู้มีอำนาจในการกำหนดแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง จังหวัดราชบุรี (3) ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง จังหวัดราชบุรี วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวแสดงที่เป็นทางการและกลุ่มตัวแสดงที่ไม่เป็นทางการ จากนั้นจึงจำแนกข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ออกเป็น หมวดหมู่ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของตัวแสดงที่เป็นทางการจะมีมากกว่าบทบาทของตัวแสดงที่ไม่เป็นทางการ โดยตัวแสดงที่เป็นทางการ มีอำนาจตัดสินใจเลือกโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี เพราะมีตำแหน่งและได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้สามารถแสดงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของตนได้โดยตรง (2) ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมือง เป็นการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากกว่าที่จะแสดงหาผลประโยชน์ เพราะตัวแสดงต่าง ๆ ให้การยอมรับผู้มีอำนาจในการกำหนดแผนพัฒนาสามปี ที่มุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเช่นกัน (3) ไม่มีอิทธิพลทางสังคมการเมืองใด ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดแผนพัฒนาสามปี ทั้งนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่ปัญหาที่พบคืองบประมาณที่มีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการบริหารงาน เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10415 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
151351.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License