Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10417
Title: บทบาทวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The role of the Rak Chiang Mai 51 Community Radio in political movements in Chiang Mai Province
Authors: วรารัก เฉลิมพันธุศักด์ิ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชระ อุตระกาศ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยุชุมชน--แง่การเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของสื่อวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 ที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ (2) การรับฟังและผลตอบรับของกลุ่มประชาชนเสื้อ แดงในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการรับฟังวิทยุชุมชน ในช่วงของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ระหว่าง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับข้อมูลข่าวสารทาง การเมืองจากวิทยุชุมชน ต่อความเชื่อ ทัศนคติ และการตัดสินใจร่วมกิจกรรมทางการเมือง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเจาะลึก รายบุคคล แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) ผู้ดำเนินรายการของสถานีวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 (2) ผู้ฟังรายการวิทยุชุมชนที่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่เข้าร่วมกิจกรรมกับทางสถานีวิทยุ และ (3) ประชาชน ทั่วไปที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสถานีวิทยุ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดำเนินรายการวิทยุรักเชียงใหม่ 51 ส่วนมากมีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ให้ การสนับสนุนรัฐบาลนางสาวยิงลักษณ์ ชินวัตร โดยให้ข้อมูลข่าวสารด้านการเมือง การเคลื่อนไหวของ รัฐบาลโดยใช้สื่อวิทยุเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์โน้มน้าวให้กลุ่มคนฟังให้มีความเชื่อ ทัศนคติ ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นสื่อที่รวบรวมมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง และเป็น ผู้นำในการชุมนุมทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างผู้ฟังรายการวิทยุชุมชนที่เป็นกลุ่มคนเสื้อ แดง ซึ่งรับฟังรายการวิทยุรักเชียงใหม่ 51 อยู่ตลอดเวลา มีความเชื่อว่าข้อมูลข่าวสารที่ได้รับผ่านการ ออกอากาศนั้นมีมูลความจริง และศรัทธาในตัวผู้ดำเนินรายการจึงส่งผลให้ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมการ เคลื่อนไหวทางการเมืองกับทางสถานีวิทยุโดยสมัครใจ ในส่วนของประชาชนทั่วไปนั้นไม่รับฟังรายการ วิทยุที่มีเนื้อหาทางการเมือง และแม้จะรับฟังข้อมูลทางการเมืองจากคนรอบข้างบางครั้ง แต่ไม่มีผลต่อการ ตัดสินใจหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง กล่าวได้ว่าวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 มีบทบาทในฐานะ สื่อมวลชน 3 ด้าน คือ 1) การเป็นภาพสะท้อนของสังคม 2) การเป็นตัวแทนของกลุ่มคนในสังคม และ 3) การสร้างสาธารณะมติ ทั้งนี้ ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 มีการสื่อสารโน้มน้าวใจ ให้ ผู้ฟังที่เป็นกลุ่มเสื้อแดง มีความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อด้านการเมือง ไปในทิศทางที่ผู้ดำเนิน รายการสื่อสาร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10417
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151793.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons