Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10420
Title: บทบาทประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในการดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Roles of the village fund network chairman in implementing projects to strengthen grassroots economy in accordance with the civil state approach in Ubon Ratchathani Province
Authors: ธนศักดิ์ สายจำปา
ธัญชนก สิทธิสาร, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
ประชาสังคม--ไทย--อุบลราชธานี
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในการดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ปัญหาในการนำนโยบายการเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐไปปฏิบัติในจังหวัดอุบลราชธานี (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำนโยบายการเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐไปปฏิบัติ การวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ตัวแทนจากประธาน เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจำนวน 8 คนภาคประชาชน จำนวน 5 คน ภาครัฐ 5 คน จำนวนทั้งสิ้น 18 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยาย เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในการดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐพบว่าประธานเครือข่ายส่วนมากขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทตนเองและประชาชนยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ยังต้องอาศัยภาครัฐหรือผู้ที่ตนให้การยอมรับมีอำนาจในการตัดสินใจ (2) ปัญหาในการนำนโยบายการเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐไปปฏิบัติพบว่าไม่เป็นในทิศทางเดียวกันมีการเพิ่มขั้นตอนนอกเหนือระเบียบฯทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์ (3) แนวทางในการนำนโยบายการเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐไปปฏิบัติควรลดขั้นตอนเอกสารไม่ให้ยึดระเบียบฯ ที่ประธานเครือข่ายกำหนดขึ้นเองให้ใช้แนวทางที่ส่วนกลางกำหนดเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เหมือนกันทั่วประเทศ และไม่ควรผ่านอำเภอหรือประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในขั้นตอนการดำเนินการด้านเอกสารควรให้หมู่บ้านบริหารจัดการกันเองเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนโดยแท้จริงและเสริมสร้างขบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10420
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153254.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons