Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10423
Title: บทบาทของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Roles of public sector in solid waste management in Huai Khrai Municipality of Mae Sai District Chiang Rai Province
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงค์พิสันต์ ประชุม, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
การกำจัดขยะ--ไทย--เชียงราย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.
การกำจัดของเสีย--ไทย--เชียงราย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูล ฝอยในเขตเทศบาลตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (2) เสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ประชากร กลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ประธานชุมชนจำนวน 6 คน ผู้ใหญ่บ้านจำนวน 6 คน และประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยไคร้ จำนวน 10 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็น เครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนานำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็นมาวิเคราะห์ บรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1. ภาคประชาชนมีบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาล ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดังนี้ 1) มีการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด 2) มีการลดการ เกิดขยะ 3) มีการรวบรวมขยะก่อนทิ้ง 4) มีการเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิล 5) มีการแปรสภาพขยะไปใช้ ประโยชน์ ซึ่งจากการที่ประชาชนมีบทบาทดังกล่าวทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลห้วย ไคร้ลดลง และ 2. ข้อเสนอแนะคือควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมและรณรงค์ให้ ประชาชนมีบทบาทในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนก่อนนำไปทิ้ง ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการ แยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภทซึ่งขยะรีไซเคิลแต่ละประเภทนั้นจะมีราคาแตกต่างกัน หากมีการคัดแยก ประเภทแล้วมูลค่าของขยะรีไซเคิลจะสูงขึ้น ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืชให้มีการนำปุ๋ยที่ผลิตได้ ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเทศบาล ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้การจัดการขยะในชุมชนและสนับสนุนให้แต่ละชุมชนจัดตั้งองค์กรประชาชน ในรูปแบบคณะกรรมการชุมชนเพื่อบริหารจัดการขยะในชุมชน รวมทั้งเชิญชวนภาคเอกชนให้มามีส่วน ร่วมในการจัดการขยะด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10423
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154895.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons