กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10427
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยจูงใจประชาชนในการเข้าร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ระหว่าง พ.ศ. 2508-2519 : กรณีศึกษา อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในเขตตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivational factors of participating in a Communist Ideology between B.E. 2508 to B.E. 2519: a case study on the former member of Communist Party of Thailand (CPT) in Pathum Wapi Subdistrict, Song Dao District, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
พัฒยา อาสาสร้อย, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
คอมมิวนิสต์--ไทย
ลัทธิคอมมิวนิสต์--ไทย--ประวัติ.
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยสาเหตุการจูงใจประชาชนในการเข้าร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ระหว่าง พ.ศ. 2508-2519 : กรณีศึกษา อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในเขตตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร (2) ยุทธวิธีการจูงใจประชาชนในการเข้าร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ระหว่าง พ.ศ. 2508-2519 : กรณีศึกษา อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญบ้านบ่อแกใหญ่ จำนวน 8 คน บ้านบ่อแกน้อย จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) การที่ชนชั้นปกครอง แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใช้มาตรการความรุนแรงกับชนชั้นที่ถูกปกครองนั้นไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมประเทศชาติแต่อย่างใด กลับทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติเพิ่มมากขึ้น เกิดการต่อต้านอำนาจรัฐ และคอยหาช่องทางเพื่อแก้แค้น ดังนั้นเมื่อมีผู้ปฏิบัติงานของพรรคคอมมิวนิสต์มาเคลื่อนไหวปลุกระดมชักชวน จึงทำให้ประชาชนตัดสินใจร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ประกอบกับการเป็นพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจรัฐ การดูแลของภาครัฐที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานของพรรคคอมมิวนิสต์มีโอกาสเข้าใกล้ชิดช่วยเหลือประชาชนมากกว่าภาครัฐ จึงทำให้ประชาชนถูกโน้มน้าวชักจูงได้ง่าย (2) การกล่าวโฆษณาถึงจุดบกพร่องของผู้นำประเทศที่บริหารประเทศผิดพลาด ขาดวิสัยทัศน์ ขาดความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมือง การนำปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น ปัญหาเรื่องความทุกข์ยาก ไม่ได้รับการกินดีอยู่ดีของประชาชน มาสร้างเป็นแรงจูงใจให้เข้าร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รวมทั้งการอาศัยหลักจิตวิทยา โฆษณาชวนเชื่อด้วยยุทธวิธีต่าง ๆ การใช้ความสัมพันธ์ทางสายเลือดเครือญาติ ดึงญาติ และคนรู้จักให้เป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10427
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158632.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons