Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10428
Title: ปัจจัยส่งเสริมภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย : กรณีศึกษากลุ่มโรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่น ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
Other Titles: Factors of civil society promotion for democracy development : a case study of rice mill group for natural conservation in the local community of Na So Sub-district, Kutchum district, Yasothorn province
Authors: พิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมารีย์ ชูจิตร, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาประชาธิปไตย
กลุ่มโรงสีข้าว--ไทย--ยโสธร
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่งเสริมภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย (2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานของภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย (3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขกระบวนการดำเนินงานภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวของผู้นำชุมชน มีความเสียสละรับผิดชอบ เป็นที่ยอมรับของคนในและ นอกชุมชน ฝ่ายสมาชิกมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ทางด้านองค์กรชุมชน มีการบริหารงานในรูปแบบ คณะกรรมการ ภายในองค์กรมีความยืดหยุ่นสูง เครือข่ายชุมชน มีการเชื่อมโยงประสานงานติดต่อสื่อสาร การมี ส่วนร่วมเป็นการพัฒนาประชาธิปไตย จึงพบว่า ปลอดจากรัฐและทุน มีการแสดงออกด้วยความสมัครใจ รู้จักสิทธิ ตนเอง ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และมีอำนาจต่อรองสูง (2) ด้านการดำเนินงาน สามารถปฏิบัติตาม วัตถุประสงค์ เช่น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรทำนาโดยไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดที่คำนึงถึงคือเรื่องสุขภาพความ ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พันธุ์ข้าวและวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เกิด การเรียนรู้ในการทำงานหรือการจัดการในธุรกิจชุมชน เพื่อสร้างสวัสดิการให้กับสมาชิกและชุมชน เพื่อแปรรูป ข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร เพื่อจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศในระบบแฟร์เทรดและส่งเสริมการ รวมกลุ่มของชาวบ้านอันเป็นปัจจัยที่ให้ชุมชนเข้มแข็ง ทั้งสามารถปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานในแต่ละปี มีการ ควบคุมตรวจสอบจากสมาชิกและสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อความเข้มแข็งของกลุ่ม/องค์กร (3) ด้านปัญหา และแนวทางแก้ไข ยังมีบางกลุ่มไม่เข้าใจเรื่องการดำเนินงาน จึงเกิดความไม่พอใจในคณะกรรมการบริหาร อาจ เป็นเพราะขาดการประสานงานที่ต่อเนื่อง ไม่มีการประชุมทุกเดือน สมาชิกไม่กล้าแสดงความคิดเห็น แต่เข้ามา เพราะต้องการรับรู้หรือได้รับหนังสือแจ้งจากทางกลุ่มหรือเข้าร่วมประชุมเพราะต้องการเบี้ยเลี้ยงเท่านั้น ด้านการ แก้ไขคือ ต้องหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ควรสร้างจิตสำนึกรักชุมชนเอา ใจใส่ดูแลรับผิดชอบงานร่วมกัน แต่ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นปรึกษาหารือกันได้ในเวทีประชาคม คำสำคัญ ปัจจัยส่งเสริม ภาคประชาสังคม การพัฒนาประชาธิปไตย กลุ่มโรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10428
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159564.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons