Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10430
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิศาล  มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอนุธิดา น้อยพรม, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-13T08:23:11Z-
dc.date.available2023-11-13T08:23:11Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10430-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการจัดการทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ของกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการจัดการทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งแนวทางการแก้ปัญหา อุปสรรคหรือข้อเสนอแนะ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีประชากรวิจัย 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 7 คนและ 2) กลุ่มผู้อาวุโสและประชาชนทั่วไป จำนวน 7 คนโดยใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การพูดคุย การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกข้อมูล และการบันทึกภาพ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนตำบลนาโส่อยู่ในรูปของระบบหรือกระบวนการทำงานของทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดเริ่มต้นจากระบบคิด ได้แก่ ระบบคิดทวนกระแสการพัฒนา ระบบคิดในความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ระบบคิดในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต ระบบคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกรักแผ่นดินถิ่นที่เกิด และระบบคิดเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้ง 5 แนวคิดนำไปสู่การร่วมกันจัดการกับทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และอากาศอย่างเป็นองค์รวม ก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชน เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เพิ่มทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น สมบูรณ์มากขึ้น มีกองทุนต่างๆเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้กับชุมชน เป็นต้นแบบเกษตรอินทรีย์ ต้นแบบการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ลดมลภาวะทางอากาศ โดยอาศัยปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ความเป็นชุมชนนิยมผู้นำชุมชนและภาวะการนำเทคโนโลยีชาวบ้านและนวัตกรรมสมัยใหม่ ธรรมนูญชุมชน กระบวนการเรียนรู้และการตกผลึกทางความคิดมาช่วยเกื้อกูลสนับสนุน และมีปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการต่างประเทศ องค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรและหน่วยงานของรัฐ กระแสสังคม การศึกษาดูงานจากบุคคลภายนอก นโยบายและโครงการที่เหมาะสมมาส่งเสริมให้กระบวนการขับเคลื่อนไปได้ (2) ปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นจาก 3 ด้านคือ ค้านเกษตรกรเช่น เกษตรกรไม่กล้าเปลี่ยนระบบการผลิต ขาดความเชื่อมั่นในการผลิตอินทรีย์ และไม่เข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ด้านนโยบายภาครัฐเช่น โครงการรับจำนำข้าวและนโยบายเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์นั้นไม่ส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาสังคมในชุมชน และด้านองค์กรชุมชน เช่น มีงบประมาณไม่พอ ขาดทุนต่อเนื่อง และขาดบุคลากรสืบทอดอุดมการณ์ชุมชน เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากทั้ง 3 ด้านร่วมกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรth_TH
dc.title.alternativePeople’s participation with social capital on natural resources and environment : a case study of Na So Sub-district community, Kut Chum District, Yasothon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to: 1) study participation process and social capital management process on natural resources and environment; and 2) study problems and obstacles of participation process and social capital management process on natural resources and environment as well as solutions or suggestions. This was a qualitative research. The sample group was purposive sampling. The research population consisted of two groups: 1) seven community leaders; and 2) seven elders and people. The research tools were conversation, non-participant observation, participant observation, interview, sound record and note taking and photo taking. And, content analysis was used for data analysis. The findings prove that: 1) participation of people or community in Na So Sub-district is system or process of social capital on natural resources and environment. It starts from thinking systems: counter development thinking system, thinking system of relationship among people, between people and nature and between people and supernatural, thinking system of living security guarantee, thinking system of local consciousness and thinking system of organic agriculture or sustainable agriculture. All five thinking systems lead to advantage to community because it causes safety and security to human and environment, enhance abundant natural resources and environment capital, more funds which increase community’s power bargain. Besides, it is a role model for organic agriculture, waste management and air pollution reduction. The internal factors including communitarianism, community leadership and modern innovation, community charter, learning process and thought crystallization and external factors comprising development network and foreign academicians, private and public organizations, social trend, visits of people outside community, appropriate policies and projects support the process; 2) problems and obstacles arising out of three aspects: farmers, for example, farmers do not sure to change production system, lacking confidence in organic production and do not understand organic standards; public policies, such as, rice mortgage project and organic agricultural area policy not promoting civil society; and community e.g. they do not have enough budgets, accumulated loss and lacking of personnel inherited community ideology. This eventually leads to solutions to solve all three aspects of problems and obstaclesen_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161028.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons