Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10430
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
Other Titles: People’s participation with social capital on natural resources and environment : a case study of Na So Sub-district community, Kut Chum District, Yasothon Province
Authors: พิศาล  มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุธิดา น้อยพรม, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการจัดการทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ของกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการจัดการทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งแนวทางการแก้ปัญหา อุปสรรคหรือข้อเสนอแนะ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีประชากรวิจัย 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 7 คนและ 2) กลุ่มผู้อาวุโสและประชาชนทั่วไป จำนวน 7 คนโดยใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การพูดคุย การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกข้อมูล และการบันทึกภาพ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนตำบลนาโส่อยู่ในรูปของระบบหรือกระบวนการทำงานของทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดเริ่มต้นจากระบบคิด ได้แก่ ระบบคิดทวนกระแสการพัฒนา ระบบคิดในความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ระบบคิดในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต ระบบคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกรักแผ่นดินถิ่นที่เกิด และระบบคิดเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้ง 5 แนวคิดนำไปสู่การร่วมกันจัดการกับทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และอากาศอย่างเป็นองค์รวม ก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชน เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เพิ่มทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น สมบูรณ์มากขึ้น มีกองทุนต่างๆเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้กับชุมชน เป็นต้นแบบเกษตรอินทรีย์ ต้นแบบการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ลดมลภาวะทางอากาศ โดยอาศัยปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ความเป็นชุมชนนิยมผู้นำชุมชนและภาวะการนำเทคโนโลยีชาวบ้านและนวัตกรรมสมัยใหม่ ธรรมนูญชุมชน กระบวนการเรียนรู้และการตกผลึกทางความคิดมาช่วยเกื้อกูลสนับสนุน และมีปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการต่างประเทศ องค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรและหน่วยงานของรัฐ กระแสสังคม การศึกษาดูงานจากบุคคลภายนอก นโยบายและโครงการที่เหมาะสมมาส่งเสริมให้กระบวนการขับเคลื่อนไปได้ (2) ปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นจาก 3 ด้านคือ ค้านเกษตรกรเช่น เกษตรกรไม่กล้าเปลี่ยนระบบการผลิต ขาดความเชื่อมั่นในการผลิตอินทรีย์ และไม่เข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ด้านนโยบายภาครัฐเช่น โครงการรับจำนำข้าวและนโยบายเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์นั้นไม่ส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาสังคมในชุมชน และด้านองค์กรชุมชน เช่น มีงบประมาณไม่พอ ขาดทุนต่อเนื่อง และขาดบุคลากรสืบทอดอุดมการณ์ชุมชน เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากทั้ง 3 ด้านร่วมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10430
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161028.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons