Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10437
Title: | อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) กับการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | Civil Defense Volunteers (CDV) and a building of political power base in the Wat Bot district of Phitsanulok Province |
Authors: | ธนศักดิ์ สายจำปา วราพงษ์ อ่อนตา, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี อาสาสมัคร--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสร้างฐานทางการเมืองของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก (2) ศึกษาบทบาทอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในการเป็นฐานอำนาจทางการเมือง ในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นและสมาชิก อปพร. ในพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท่างาม ตำบลหินลาด ตำบลคันโช้ง ตำบลท้อแท้ และตำบลบ้านยาง รวม 18 คน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นที่เป็น อปพร. หรือมี อปพร. เป็นฐานอำนาจของตนและสมาชิก อปพร. ที่เป็นผู้นำในแต่ละตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ แนวคิดเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนผลประ โยชน์ และแนวคิดการปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า (1) การสร้างฐานทางการเมืองของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จะใช้รูปแบบการสร้างฐานทางการเมืองซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางระบบเครือญาติ การเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือคนในสังคม และการเป็นผู้มีเกียรติและน่าเชื่อถือ โดยผลการศึกษาพบว่าในการเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนมีผลต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง ทั้งจากบุคคลที่เป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเอง ก็สามารถใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ทำหน้าที่รับใช้พี่น้องประชาชนจนทำให้เกิดการเป็นที่ยอมรับนับถือ เป็นผู้ทำงานด้วยความเสียสละรับใช้สังคมท้องถิ่นของตนเอง จนสามารถสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในท้องถิ่นและสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในชุมชนของตน เช่น สมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในชุมชนท้องถิ่นของตนได้ (2) บทบาทอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในการเป็นฐานอำนาจทางการเมืองในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยบทบาทของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน มีบทบาทในการดูแลประชาชนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่นของตนเอง จึงเป็นผลทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือและเป็นที่รักของคนในชุมชนในการเป็นผู้เสียสละทำงานรับใช้สังคมท้องถิ่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ทำให้นักการเมืองท้องถิ่นมุ่งหวังหาผลประโยชน์ในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองกับกลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกลุ่มนี้ โดยมีการใช้รูปแบบการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบหลัก ได้แก่ การใช้ระบบอุปถัมภ์ การใช้ระบบเครือญาติ การให้เกียรติยศชื่อเสียง และการให้ตำแหน่งหน้าที่การงาน จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารท้องถิ่นใช้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเป็นฐานอำนาจทางการเมืองท้องถิ่นของตนเอง โดยใช้ระบบอุปถัมภ์ ลักษณะของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ และการพึ่งพิงระหว่างกันทั้งสองฝ่าย โดยให้การสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นทีมงานของตนเองโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเครือญาติของกลุ่ม อปพร. การให้ตำแหน่งหน้าที่การงาน และการให้เกียรติในการทำงาน เพื่อที่ทำให้ กลุ่มอปพร. มาเป็นทีมงานของตน มาสนับสนุนเป็นฐานเสียง ฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อให้ได้กลับเข้ามาทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10437 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
162828.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License