กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10442
ชื่อเรื่อง: เทคนิคการสื่อสารในภาวะวิกฤติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication techniques for crisis situations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชษฐวุฒิ จันทร์งาม, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการในภาวะวิกฤต
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
การสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสื่อสารใน ภาวะวิกฤติ 2) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤติ การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องเทคนิคการสื่อสารในภาวะวิกฤติ เป็นการศึกษาในรูปแบบ การเรียงเรียงตำรา โดยโครงสร้างตำราประกอบด้วยเนื้อหา 3 บท คือ บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการ สื่อสาร บทที่ 2 ภาวะวิกฤติ และบทที่ 3 การสื่อสารในภาวะวิกฤติ การสื่อสาร หมายถึง ความต้องการที่จะส่งข้อมูลข่าวสารของผู้ส่งสารผ่านสื่อไปยังผู้รับ สาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) แสวงหาข่าวสาร 2) แสดงอารมณ์ความรู้สึก 3) แสดงจินตนาการ 4) แสดงออกซึ่งวัฒนธรรมทางสังคมอันดีงามและเป็นสากล และ 5) โน้มน้าวชักจูงใจ การสื่อสารเป็น กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งมีความ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสัมพันธ์กับกระบวนการทางจิตวิทยา สำหรับภาวะวิกฤติ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะวิกฤติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และภาวะวิกฤติที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ภาวะวิกฤติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ การจัดการภาวะวิกฤติ ประกอบด้วย วิธีการ การกำหนดมาตรวัด และการสื่อสาร การสื่อสารในภาวะวิกฤติจึงหมายถึง การติดต่อสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เป็นอันตราย เกิดสถานการณ์ที่ยากต่อการ สื่อสารให้เข้าใจ จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว ชัดเจน และจำนวนครั้งมากพอ เพื่อผล ในการลดความรุนแรง หรือระงับสถานการณ์ในภาวะวิกฤติให้สิ้นสุดได้สำเร็จ การจัดการการ สื่อสารในภาวะวิกฤติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ การสื่อสารภาวะวิกฤติ และการติดตามและ ประเมินผล ช่วงเวลาการสื่อสารภาวะวิกฤติ แบ่งเป็นการสื่อสารก่อนภาวะวิกฤติ การสื่อสารขณะ เกิดภาวะวิกฤติ และการสื่อสารหลังภาวะวิกฤติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10442
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
136687.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons