กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10448
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public relations factors that affect participation in activities of students of the Physical Education Institute, Samut Sakhon Campus
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัญญนิษฐ์ เลิศทัศนวงศ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: การประชาสัมพันธ์
กิจกรรมของนักศึกษา
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อรูปแบบและวิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ (2) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อนักศึกษา (3) การเข้าร่วมกิจกรรมและความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมนักศึกษา (4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับความพึงพอใจต่อรูปแบบและวิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ และเปรียบเทียบการเปิดรับสื่อกับการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนกับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาเปิดรับสื่อออนไลน์เว็บไซต์ของสถาบันมากที่สุด รองลงมา ได้แก่เฟซบุ๊กของคณะที่ตนเองศึกษา เปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเอกสารประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของคณะมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เอกสารประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ส่วนกลาง เปิดรับสื่อบุคคลที่เป็นเพื่อนมากที่สุดรองลงมาได้แก่ อาจารย์ เปิดรับสื่อกิจกรรมประเภทการแนะแนว(โฮมรูม) มากที่สุดและมีความพึงพอใจต่อรูปแบบและวิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (2) กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลของต่อนักศึกษาในระดับมาก (3) นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 กิจกรรมจากทั้งหมด 5 กิจกรรม และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมในระดับปานกลาง (4) นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อรูปแบบและวิธีดำเนินงานประชาสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05 และการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกันมีการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05 (5) ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับค่อนข้างสูงความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับปานกลาง และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาครในระดับค่อนข้างมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10448
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151522.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons