Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10453
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Other Titles: Research synthesis on guidelines for community forest management : case studies of community forests in the Upper Northern of Thailand
Authors: ชัยวัฒน์ คงสม
จริยา รัมมนต์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
ป่าชุมชน--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--การจัดการทรัพยากรเกษตร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับป่าชุมชนในภาคเหนือตอนบน 2) สภาพการบริหารและการจัดการป่าชุมชนในภาคเหนือตอนบน 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการป่าชุมชนในภาคเหนือตอนบน และ 4) สังคราะห์แนวทางการจัดการป่าชุมชนในภาคเหนือตอนบน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย พิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี 2545 - 2560 จำนวน 20 เรื่อง และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 เรื่องที่สามารถสืบค้นฉบับสมบูรณ์ได้ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่จัดทำขึ้นที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การวิเคราะข้อมูลเป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ป่าชุมชนใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปี 2561 มีพื้นที่ทั้งหมด 3,146,446.30 ไร่ และพื้นที่ป่าชุมชนที่ทำการศึกษา จำนวน 37,285 ไร่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณที่มีป่าชนิดอื่นขึ้นปะปน แบ่งเป็นเขตอนุรักษ์และเขตใช้สอยในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการยังชีพ 2) การบริหารและการจัดการป่าชุมชนส่วนใหญ่ดำเนินการโดยคณะกรรมการหมู่บ้านและ/หรือคณะกรรมการป่าชุมชนและ/หรือคณะกรรมการชุมชนอื่นร่วมกับกรมป่าไม้ และ/หรือภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ ในลักษณะแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การบริหารจัดการป่าชุมชนประกอบด้วย (1) การวางแผน (2) การจัดองค์การ (3) การนำ และ (4) การควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดการพื้นฐานสำคัญ 4 ด้าน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการป่าชุมชน แบ่งออกเป็น (1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชน การมีผู้นำและคณะกรรมการป่าชุมชนที่เข้มแข็ง การมีกฎ ระเบียบ และข้อบังคับป่าชุมชนที่เป็นรูปธรรม และการใช้กุศโลบายด้านวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อในการอนุรักษ์ป่าไม้ และ (2) ปัจจัยกายนอก ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายและองค์กรอิสระต่าง ๆ 4) แนวทางการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ (1) การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้กับสมาชิกในชุมชน (2) การกระจายอำนาจในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าไม้ในรูปแบบของป่าชุมชน (3) การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การปฏิบัติ การรับผลประโยชน์ และการประเมินผล (1) การคัดเลือกผู้นำป่าชุมชนที่มีความเข้มแข็ง (5) การให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลป่าชุมชน (6) การมีกฎ ระเบียบ และข้อบังคับป่าชุมชนที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (7) การใช้วัฒนธรรม ประเพณี พีธีกรรมและความเชื่อมาใช้ในการอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อการจัดการป่าชุมชน (8) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายและองค์กรอิสระต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ (9) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน (10) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10453
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons