Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10455
Title: ดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายรายวิชา ประวัติตัวละครและสถานที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องพงศ์และวงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์ สำหรับนักศึกษาระดับนาฎศิลป์ชั้นสูงปีที่ 1 ของวิทยาลัยนาฎศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Other Titles: Computer-based learning packages on web for the course of historical characters and places in Ramayana on descendant line in Ramayana for Thai traditional performing arts students in Dramatic Arts College of Bunditpatanasilpa Institute
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กำพล ดำรงศ์วงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนัย วรรณะลี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีศักดิ์ วีระพงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
รามเกียรติ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย รายวิชาประวัติตัวละครและสถานที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ เรื่อง พงศ์และวงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์ สำหรับนักศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงปีที่ 1 ของวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการ - เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียน ด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงปีที่ 1 ของ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 34 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เรื่อง พงศ์และวงศ์ใน เรื่องรามเกียรติ์ ประกอบด้วยจำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 11 พงศ์และวงศ์อโยธยาพงศ์ หน่วยที่ 12 พงศ์และวงศ์อสูรพรหมพงศ์ และ หน่วยที่ 13 พงศ์และวงศ์วานรพงศ์ (2) แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นนักศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ ดังนี้คือ 80.20/81.20, 78.60/80.40 และ 79.00/79.60 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนด 80/80 (2) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย มีความก้าวหน้า ทาง การเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อ ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10455
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons