กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10462
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของปลัดอำเภอในจังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems and guidelines for competency development of assistant chief district officer in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประภาภรณ์ พรหมสวัสดิ์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมรรถภาพในการทำงาน
สมรรถนะ
ปลัดอำเภอ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของปลัดอำเภอในจังหวัดชุมพร (2) ศึกษาความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาสมรรถะของปลัดอำเภอในจังหวัดชุมพร (3) ศึกษาปัญหาในการพัฒนาสมรรถนะของปลัดอำเภอในจังหวัดชุมพร และ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของปลัดอำเภอในจังหวัดชุมพรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพคือ นายอำเภอในจังหวัดชุมพร จำนวน 3 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามขนาดของอำเภอ อำเภอขนาดเล็กเลือกอำเภอพะโต๊ะ อำเภอขนาดกลางเลือกอำเภอปะทิว และอำเภอขนาดใหญ่เลือกอำเภอสวี เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประชากรเชิงปริมาณคือ ปลัดอำเภอที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 70 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ดังต่อไปนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะหลักของปลัดอำเภอในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการบริการที่ดี รองลงมาคือ ด้านจริยธรรม ด้านการร่วมแรงร่วมใจ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถะประจำตำแหน่งในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านสภาวะผู้นำ รองลงมาคือ ด้านการดำเนินการเชิงรุก และด้านศิลปะการสื่อสารจูงใจ ตามลำดับ (2) ความคิดเห็นต่อแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การพัฒนาโดยองค์การ รองลงมาคือ การพัฒนาโดยผู้บังคับบัญชา และน้อยที่สุดคือ การพัฒนาด้วยตนเอง (3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาสมรรถนะ คือ ภารกิจงานมีปริมาณมากไม่สอดคล้องกับอัตรากำลังที่มีอยู่ ปัญหาด้านบุคลากรให้ความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะของตนเองน้อย และหลักสูตรในการอบรมที่ไม่ตรงกับงานที่รับผิดชอบ และ (4) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ ควรเน้นการใช้หลักการมอบหมายงาน หลักการบริหารชุมชนจัดการตนเองให้เข้มแข็งมากขึ้น การจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คู่มือปฏิบัติงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10462
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons