กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10481
ชื่อเรื่อง: ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A proposed instructional system via computer network on information technology subject for Mathayom Suksa IV students of schools in the Princess Chulabhorn's College Group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
อานันท์ปภา ฉลาดเอื้อ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
เทคโนโลยีสารสนเทศ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน--การออกแบบและการสร้าง
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนจุฬา ภรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) ผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนักเรียน โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 276 คน และ (2) ผู้เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้านระบบการเรียนการสอน และด้านเนื้อหาคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ระบบการเรียนการสอน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) แบบสอบถามความคิดเห็นและความ ต้องการของผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และ (4) แบบประเมินต้นแบบชิ้นงานจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบียงเบนมาตรฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยี สารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความ ต้องการของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้เรียน ขั้นที่ 2 กำหนดปรัชญา/วิสัยทัศน์/นโยบาย/เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ขั้นที่ 3 ศึกษาหลักสูตร/กำหนดผลการเรียนที่คาดหวัง/กำหนดสาระการเรียน ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผูเรียน ขั้นที่ 5 กำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียน ขั้นที่ 6 ผลิตสื่อการ เรียนการสอน ขั้นที่ 7 กำหนดสภาพแวดล้อมทางการเรียน ขั้นที่ 8 ดำเนินการสอน และขั้นที่ 9 ประเมินผลการเรียน ระบบการเรียนการสอนดังกล่าวได้ผ่านการตรวจประเมินและรับรองจาก ผู้ทรงคุณวุฒิว่าอยู่ในระดับดี สามารถนำไปใช้ได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10481
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons