กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10482
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The strategy development to promote electronic books usage of humanity graduate students in public universities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธินันท์ ชื่นชม, อาจารย์ที่ปรึกษา
คมเดช บุญประเสริฐ, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การส่งเสริมการอ่าน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการสนับสนุนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) ศึกษาสภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ (4) พัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่มสาขาวิชาคือ 1) ภาษาและภาษาศาสตร์ 2) วัฒนธรรมและวรรณคดี 3) โบราณคดีและประวัติศาสตร์ 4) ปรัชญา ศาสนาและเทววิทยา รวมจำนวน 374 คน และผู้บริหารห้องสมุด ผู้บริหารคณะและอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ จำนวน 55 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 9 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์กลยุทธ์ จำนวน 11 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการทดลองกลยุทธ์ 6 แห่ง จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสนับสนุนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยห้องสมุดมีระบบการจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในคลังสารสนเทศสถาบัน และคณะมีนโยบายให้อาจารย์ผลิตตำราอิเล็กทรอนิกส์ 2) สภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่าส่วนใหญ่ใช้หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ในการทำวิจัยและรายงาน เมื่อเปรียบเทียบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา โดยเพศชายอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่มมากกว่าเพศหญิง เมื่อจำแนกตามอายุพบว่านักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 26 ปีใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาที่มีอายุ 26 ปี ขึ้นไป เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่านักศึกษาระดับปริญญาเอกใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาระดับปริญญาโท เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาพบว่านักศึกษากลุ่มสาขาวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษากลุ่มสาขาวิชาภาษาและภาษาศาสตร์และกลุ่มสาขาวิชาวัฒนธรรม และวรรณคดี 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของผู้ใช้ เครื่องมือที่ใช้อ่าน และทัศนคติ และ 4) กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เรียกว่า เอ็นพี-สมาร์ท ประกอบด้วยกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานภายนอก กลยุทธ์การกำหนดนโยบายการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดกับคณะ และกลยุทธ์การเชื่อมโยงหน้าที่ในห้องสมุด ตั้งแต่การแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การจัดเก็บคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การบริการและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผลการประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีความเหมาะสม และผลการทดลองโดยการพัฒนาเว็บพอร์ทัลรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านมนุษยศาสตร์ พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในระดับมาก และสามารถขยายผลสู่การนำกลยุทธ์ไปใช้ในแต่ละสาขาวิชา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10482
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons