กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10491
ชื่อเรื่อง: | การจัดการตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเกษตรกรจังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management of agro-tourism according to tourist attractions standard and needs of media for agro-tourism extension by farmers in Rayong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา พรปรีชา หงสะเดช, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--ไทย--ระยอง |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจ ของเกษตรกรเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเกษตรกรและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตร ฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประชากรในการวิจัยคือ เกษตรกรเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดระยอง จำนวน 80 แหล่ง และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานท่องเที่ยวเชิงเกษตร ระดับอำเภอจำนวน 8 คน เก็บข้อมูลจากประชากรทุกรายโดยใช้แบบสัมภายณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 48.61 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด ประกอบอาชีพที่ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัวนอกเหนือจากอาชีพเกษตรกร เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดระยอง มีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเฉลี่ย 247.062.50 บาทต่อปี 2) มากกว่าร้อยละ 85 มีการจัดการตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเด็น มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไฟฟ้าประปาเพียงพอสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว กำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ และการโฆษณาผ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ เว็บไซต์ ซึ่งสอดคล้องกับการส่งเสริมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3) มี) เกษตรกรและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความต้องการสอดคลองกัน คือ ต้องการสื่อเทคโน โลยีสารสนเทศในระดับมากที่สุด รองลงมามีความต้องการสื่อสังคมในระดับมาก 4 เกษตรกรครึ่งหนึ่งมีปัญหาเรื่อง ไม่มีการจัดทำโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร ไม่มีการสร้างเครื่อข่ายระดับภาค/ระดับประเทศ/ระดับนานาชาติ ส่วนใหญ่ให้ข้อเสนอแนะให้มีการสนับสนุนให้ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10491 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License