กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10492
ชื่อเรื่อง: | ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการคัดค้านการสร้างบ่อขยะแบบฝังกลบ : กรณีศึกษาตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | People’s movement to oppose a construction of the landfill : a case study of Banghin subdistrict, Kapoe district, Ranong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรวลัญช์ โรจนพล กนกวรรณ รัตนวิทย์, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี นักปฏิบัติการเชิงรุกทางการเมือง--ไทย--ระนอง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์-- การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการคัดค้านการสร้างบ่อขยะแบบฝังกลบ ในตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 2) วิธีการระดมทรัพยากรของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการคัดค้านการสร้างบ่อขยะแบบฝังกลบ ในตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และ 3) สาเหตุที่ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการคัดค้านการสร้างบ่อขยะแบบฝังกลบ ในตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนองประสบความสำเร็จในการเคลื่อนไหว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยแบ่งประชากรการวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม รวมทั้งหมด 13 คน คือ แกนนำชาวบ้าน จำนวน 3 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน ประชาชนที่เข้าร่วมการคัดค้านการสร้างบ่อขยะแบบฝั่งกลบ จำนวน 5 คน และข้าราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการคัดค้านการสร้างบ่อขยะแบบฝังกลบ ประกอบไปด้วย การนหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ การต่อสู้ผ่านการใช้สิทธิตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การจัดเวทีปราศรัยคัดค้านการดำเนินการ การชุมนุมประท้วง และการรณรงค์สื่อสารสาธารณะ 2) วิธีการระดมทรัพยากรของขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าว คือ การสร้างกลุ่มแกนนำที่หลากลายรูปแบบ การสร้างฐานประชาชนในการสนับสนุนการเคลื่อนไหว และการสร้างเครือข่าย และ 3) สาเหตุที่ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนประสบความสำเร็จในการเคลื่อนไหว เป็นผลมาจากบทบาทของแกนนำประชาชนมีเป้าหมายในการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน การได้รับสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐ และการได้รับสนับสนุนทางการเงินจากภาคส่วนต่าง ๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10492 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License