กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10497
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the success of farmer group standardized according to Cooperative Promotion Department in Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรัชนา มงคลกุลรัตน, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--ไทย--เลย
ความสำเร็จ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย 2) ศึกษากระบวนการจัดการของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย จำแนกตามปัจัยประชากรศาสตร์ และ 4) ศึกษาระดับอิทธิผลของกระบวนการจัดการที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอหนองหินและอำเภอกูกระดึง จังหวัดเลย จำนวน 653 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 248 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาน่ และกำหนดชุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลไดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถคถอยพหุกูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีกำไรสุทธิประจำปีและมีการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีตามกฎหมาย เว้นแต่ภัยธรรมชาติจนเกิดความสีหายต่อสมาชิกและกลุ่มเกษตรกรโดยรวม และน้อยที่สุดคือ คณะกรรมการดำเนินการจัดให้มีการจัดทำงบคุลรอบสิบสองเดือนแล้วสร็จและจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบได้ภายใน 50 วัน ตามกฎหมาย 2) กระบวนการจัดการของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ การนำหรือการสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การควบคุม ตามลำดับ 3) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่งกัน มีผลต่อความสำร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดเลย ไม่แตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยกระบวนการจัดการ ด้นการวางแผน ด้านการนำหรือการสั่งการและด้านการจัดองค์การ ร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในจังหวัดเลย ได้ร้อยละ 44 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons