Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10501
Title: การฝึกอบรมมิติใหม่ของบุคลากรกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
Other Titles: The new dimensional training of personnel at the Department of International Trade Promotion
Authors: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัททิรา ปัญญา, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การฝึกอบรม
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการฝึกอบรมมิติใหม่ของบุคลากร กรมส่งเสริมการค้ระหว่างประเทศ (2) เปรียบเทียบการฝึกอบรมมิติใหม่ของบุคลากรกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) แนวทางการพัฒนาการฝึกอบรมมิติใหม่ของบุคลากรกรมส่งเสริมการค้ระหว่างประเทศ การศึกษานี้เป็นการวิจัยชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้ราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานกองทุน และผู้ปฏิบัติงานกรม ของบุคลากรกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 687 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 253 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัชครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่าง โดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หรือค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (1) การฝึกอบรมมิติใหม่ของบุคลากรกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและทุกค้านได้แก่ ค้านทฤยฎีใหม่ ด้านหลักการใหม่ และด้านขั้นตอนใหม่ อยู่ในระดับมากด้วย (2) บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และประเภทบุคลากร มีความคิดเห็นต่อการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย (การฝึกฝน กาย วาจา ใจ) การฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม หลักการใช้เกมและกิจกรรมเพื่อสร้างบร รยากาศแห่งการเรียนรู้ สำรวจความต้องการการฝึกอบรมตามหลักสมรรถนะ ออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมตามหลักสมรรถนะ และดำเนินการฝึกอบรมให้เกิดการเรียนรู้ ต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) แนวทางการฝึกอบรมมิติใหม่ของบุคลากรกรม มี 3 ประการ ได้แก่ 1) ควรมีการสอดแทรกกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ระหว่างการฝึกอบรมให้มากขึ้น เช่น คนตรี ศิลปะ กีฬา เกม เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาข ลดความตึงเครียด ระหว่างการฝึกอบรม 2) ควรมีการสำรวจความต้องการจากบุคลากรในเรื่องของวิชาที่ต้องการเข้ารับการฝึกอบรมให้มากขึ้น 3) ควรจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยและมีความเพียงพอต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10501
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons