กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10511
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สังกัดรองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting efficiency performance of personnel under Deputy Governor - Power Business of Electricity Generating Authority of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐกิตติ์ สืบสนธิ, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประสิทธิภาพ
การทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัขแรงจูงใจของพนักงาน สังกัด รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2) ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สังกัด รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์กับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สังกัด รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สังกัด รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (s) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สังกัด รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานสังกัด รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,433 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของทาโร ยามาเน่ มีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าไคสแคร์ และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัขแรงจูงใจของผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก และปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพการทำงาน มีระดับความสำคัญระดับมาก โดยมีความเห็นต่อด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์กับประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า เพศกับประสิทธิภาพการทำงานค้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ กับประสิทธิภาพการทำงานด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน ด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน และ ตำแหน่งงานกับประสิทธิภาพการทำงานด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน ด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และอายุงานกับประสิทธิภาพการทำงานค้านปริมาณงาน ด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจ กับประสิทธิภาพการทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุน กับประสิทธิภาพการทำงานมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10511
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons