กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10513
ชื่อเรื่อง: การเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The innovation organization, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนัญชนก พรมศรี, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (2) เปรียบเทียบการเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแนวทางการเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 1,041 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณตามสูตรทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 289 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเทียบสัดส่วนกลุ่ม เครื่องมือในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และค่าความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมีระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมด้านโอกาสและภัยคุกคามสูงสุด รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการสื่อสารขององค์การ ด้านการมีส่วนร่วมในนวัตกรรม ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านบุคลากร ด้านทีมงาน ด้านบรรยากาศในองค์การ และค้านองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ (2) ข้าราชการที่มีอายุการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ (3) แนวทางการเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารงานยังมีข้อจำกัดให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการความรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน และ ควรส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10513
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons