Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorลลิษา แก้วประสงค์, 2536--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-16T08:51:24Z-
dc.date.available2023-11-16T08:51:24Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10519-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 331 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ใช้สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยง .98 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสนับสนุน การจัดการและการปฏิบัติโดยใช้เทคโนโลยี ด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและการประเมินผล ด้านความเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยี และด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (1) ควรพัฒนาสมรรถะความเป็นผู้นำเทคโนโลยีเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้บุคลากรใช้เทคโนโลยี กระตุ้นการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่มีการเชื่อมโยงเทคโนโลยี และปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (2) ควรกำหนดนโยบายให้ครูได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจนเป็นปกติในการจัดการเรียนการสอนและปฏิบัติงานอื่น (3) ควรเรียนรู้แนวทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีอยู่เสมอ (4) ควรสำรวจความต้องการของนักเรียนและครู เพื่ออำนวยการให้เกิดการจัดหาอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้ครูใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานร่วมกัน (5) ควรกำหนดนโยบาย ส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล และ (6) ควรกำหนดนโยบายการใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัย และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษาth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีทางการศึกษา--การจัดการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพรth_TH
dc.title.alternativeTechnological leadership of school administrators in Suratthani Province under the Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the level of technological leadership of school administrators in Suratthani Province under the Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphon; and 2) to study guidelines for development of technological leadership of school administrators in Suratthani Province under the Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphon. The sample consisted of 331 teachers in Suratthani Province under the Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphon, obtained by simple random sampling. The sample size was determined based on the Krejcie and Morgan Sample Size Table. The key informants were 5 experts. The employed research instruments were a rating-scale questionnaire about technological leadership of school administrators, with reliability coefficient of .98, and an interview form about guidelines for development of technological leadership of school administrators. Quantitative data were statistically analyzed using the frequency, percentage, mean, and standard deviation; while qualitative data was analyzed using content analysis. The research findings were as follows: 1) both the overall and specific aspects of technological leadership of the school administrators were rated at the high level; the specific aspects of technological leadership of the school administrators could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: the technological support, the management and operation using of technology, the use of technology in instruction; the ethical aspect in using technology; the use of technology in measurement and evaluation; the leadership and having vision in technology; and the use of technology in management, respectively; and 2) the guidelines for development of technological leadership of school administrators were as follows: (1) they should develop technology leadership competencies to inspire and encourage personnel to use technology, to stimulate strategic planning with technology links, and to change the vision of school administration in the digital age; (2) they should establish the policy for teacher to use digital technology until normal in instruction and performing other tasks; (3) they should learn effective management practices using technology and always develop oneself to be competent in using technology; (4) they should survey needs of teachers and students to facilitate and provide technology equipment to emphasize that teachers use technology to work together; (5) they should establish the policy encouraging teachers to use technology for measurement and evaluation; and (6) they should establish the policy for the use of safe technology and behave as a role model in using technology.en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons