Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10529
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในบริษัท บาธรูมดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด
Other Titles: Factors affecting employee performance in Bath Room Design I-Spa Company Limited
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนกฤต พลชยขจร, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานบริษัท--การทำงาน
พนักงานบริษัท--ทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ.
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจของพนักงานบริษัท บาธรูมดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยค้ำจุนของพนักงาน บริษัท บาธรูมดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด (3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท บาธรูมดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด (4) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท บาธรูมดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานบริษัท บาธรูมดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด จำนวน 279 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยสูตรของยามาเน่ ได้กลุ่ม ตัวอย่าง 175 คน ด้วยวิธีการสุ่มตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบ และการได้รับการยอมรับอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ (2) พนักงานมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงของงานอยู่ในระดับมาก ด้านการบังคับบัญชาและนโยบาย และด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ (3) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมายและตามมาตรฐานที่องค์การกำหนด ด้านการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีความครบถ้วนของงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านการสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิกาพมากขึ้นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ (4) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความรับผิดชอบ และปัจจัยค้ำจุน ด้านความมั่นคงของงานมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 87
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10529
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons