Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10534
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorลัดดาวรรณ วางมือ, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-11-17T03:26:53Z-
dc.date.available2023-11-17T03:26:53Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10534-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย (2) เปรียบเทียบการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ (3) ศึกษาปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ส่งผลต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัยที่มาใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน จำนวน 24,377 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีการรับรู้สิทธิประโยชน์ในกรณีสงเคราะห์บุตร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ กรณีว่างงาน และการรับรู้กรณีทุพพลภาพน้อยที่สุด (2) การรับรู้สิทธิประ โยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ประกันตนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาในการเป็นผู้ประกันตน และจำนวนครั้งที่ขอรับประโยชน์ทดแทน ทั้ง 7 กรณีต่างกัน มีการรับรู้สิทธิประ โยชน์กองทุนประกันสังคมทั้ง 7 กรณี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ส่งผลต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย โดยพบว่า การประชาสัมพันธ์ออนไลน์และออฟไลน์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต สื่อเฉพาะกิจ และสื่อมวลชน มีความสามารถในการอธิบายความผันแปรของตัวแปรตาม ได้ร้อยละ 61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectประกันสังคมth_TH
dc.subjectกองทุนประกันสังคมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัยth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study were: (1) to study the level of perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province; (2) to compare the perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province, classified by demographic characteristics; and (3) to study the public relations factors of Social Security Fund benefits that affect perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province. This study was a survey research. The population used in this study was the insurers in Sukhothai Province who use the right to apply for benefits, amount 24,377 persons. The sample was calculated using the Taro Yamane formula, received a sample of 400 samples. The tools used in this research were questionnaires. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation , t-test, One-Way ANOVA and multiple regression analysis. The results showed that: (1) The level of overall perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province was at a low level. The perception of benefits in the case of child welfare was the highest, followed by unemployment and the least disability. (2) For perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province classified by demographic characteristics, it was found that the insurers with different age, educational level, occupation, length of time, and the number of times to apply for replacement benefits for 7 cases affected the level of perception of Social Security Fund benefits differently, with a statistically significance at level of 0.05. (3) The public relations factors of Social Security Fund benefits affected the perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province. It was found that online and offline public relations via internet media, specialized media and mass media had the ability to explain the variation of dependent variables at 61% with statistical significance at level of 0.05.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons