กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10534
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting perception of Social Security Fund benefits of insurers in Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ วางมือ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันสังคม
กองทุนประกันสังคม
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย (2) เปรียบเทียบการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ (3) ศึกษาปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ส่งผลต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัยที่มาใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน จำนวน 24,377 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีการรับรู้สิทธิประโยชน์ในกรณีสงเคราะห์บุตร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ กรณีว่างงาน และการรับรู้กรณีทุพพลภาพน้อยที่สุด (2) การรับรู้สิทธิประ โยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ประกันตนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาในการเป็นผู้ประกันตน และจำนวนครั้งที่ขอรับประโยชน์ทดแทน ทั้ง 7 กรณีต่างกัน มีการรับรู้สิทธิประ โยชน์กองทุนประกันสังคมทั้ง 7 กรณี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ส่งผลต่อการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนในจังหวัดสุโขทัย โดยพบว่า การประชาสัมพันธ์ออนไลน์และออฟไลน์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต สื่อเฉพาะกิจ และสื่อมวลชน มีความสามารถในการอธิบายความผันแปรของตัวแปรตาม ได้ร้อยละ 61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons