กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10536
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคข้าวเหนียวสันป่าตองของผู้บริโภคในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to San-pah-tawng sticky rice consumption behavior of People in Sanpatong district, Chiang Mai
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิศนันท์ อุปรมัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วุฒินันต์ แสงอ้าย, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าวเหนียว
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคข้าวเหนียวสันป่าตองของผู้บริโภคในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมกับพฤติกรรมการบริ โภคข้าวเหนียวสันป่าตองของผู้บริ โภคในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรที่อาศัยในเขตอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้นจำนวน 75,233 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า (1)ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์ปานกลางกับพฤติกรรมการบริโภคข้าวเหนียวสันป่าตอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคาตามลำดับ (2) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ปานกลางกับพฤติกรรมการบริโภค ข้าวเหนียวสันป่าตอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10536
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons