Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10538
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการทางการเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชันของผู้ใช้บริการในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Factors affecting decision of mobile banking application users in Fang district, Chiang Mai Province
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรทัย ปันมา, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระเงิน--ไทย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจใช้บริการทางการเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชันของผู้ใช้บริการในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ใช้บริการทางการเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองและปัจจัยด้านการเข้ากันได้ของรูปแบบการดำเนินชีวิต ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการทางการเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชันของผู้ใช้บริการในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการทางการเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชันในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรที่ไม่ทราบจำนวนประชากรได้จำนวนตัวอย่าง 392 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผล การศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างใช้บริการของธนาคารสิกรไทยบ่อยที่สุด โดยส่วนใหญ่เลือกใช้บริการโอนเงิน เช็คยอดเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ และการถอนเงินสดโดยไม่ใช้บัตร เหตุผลสำคัญที่สุดในการตัดสินใจสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน คือ ความสะดวกสบาย สามารถใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา มีความถี่ในการใช้งาน 7-9 ครั้งต่อเดือน และช่วงราคาที่ใช้ในการทำธุรกรรมบ่อยที่สุดอยู่ระหว่าง 500 - 1,000 บาท โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจใช้บริการในโอกาสต่อไปและมีความพอใจในบริการระดับมากที่สุด 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันตัดสินใจใช้บริการไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองและปัจจัยด้านการเข้ากันได้ของรูปแบบการดำเนินชีวิต สามารถร่วมกันส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการได้ร้อยละ 18 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยด้านบุคลากรมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการเข้ากันได้ของรูปแบบการดำเนินชีวิต และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10538
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons