กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10545
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการโรคฮวงลองบิงในสวนส้มเขียวหวานของเกษตรกร อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines on management approach of Huanglongbing disease in farmer's tangerine orchard at Wang Chin District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
แพงมณี ขัดนันตา, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ส้มเขียวหวาน--โรคและศัตรูพืช
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--แพร่
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรคฮวงลองบึงในส้มเขียวหวานของเกษตรกร 3) การจัดการ โรคฮวงลองบิงในส้มเขียวหวานของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมในการจัดการโรคฮวงลองบึงในส้มเขียวหวานของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการจัดการโรคฮวงลองบิงในส้มเขียวหวานของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวาน ในพื้นที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ปีการผลิต 2562/63 จํานวน 1,274 ราย โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.98 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานเฉลี่ย 10.28 ไร่ต่อครัวเรือน มีประสบการณ์ในการปลูกส้มเขียวหวานเฉลี่ย 19.10 ปี จํานวนแรงงานในครัวเรือนที่ทําสวน ส้มเขียวหวาน เฉลี่ย 2.48 คน จํานวนแรงงานจ้างในการทำสวนส้มเขียวหวาน เฉลี่ย 1.38 คน ได้ผลผลิตส้มเขียวหวานเฉลี่ย 1,479.70 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากการปลูกส้มเขียวหวานเฉลี่ย 54,182.00 บาท/ไร่ มีรายจ่ายในการทำสวนส้มเขียวหวานเฉลี่ย 6,227.30 บาท/ไร่ ปี ร้อยละ 84.1 ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตส้มเขียวหวาน 2) เกษตรกรมีความรู้ในวิธีการพื้นฐานในการจัดการโรคฮวงลองบึง โดยที่ส่วนใหญ่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการจัดการโรค 3) เกษตรกรมีการจัดการโรคฮวงลองบึงมากที่สุด คือ การตัดแต่งกิ่งที่โทรมเป็นโรคออกและทำลายออกจากแปลง 4) เกษตรกรมีความต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดโรคฮวงลองบึงระดับมากเรื่องการทําลายกิ่งส้มที่เป็นโรค และต้องการรับการถ่ายทอดความรู้โดยการฝึกอบรม 5) เกษตรกรมีปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง น้ำชลประทาน (ขาดแคลนแหล่งน้ำ) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการจัดการโรคฮวงลองวิ่งในส้มเขียวหวานเจ้าหน้าที่ควรมีถ่ายทอดความรู้แบบกลุ่ม โดยการจัดอบรมและเยี่ยมชมแปลงที่ประสบความสำเร็จในการจัดการโรคฮวงลองบึง เพื่อให้เกษตรกรเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons