กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10546
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสานของเกษตรกร อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines on integrated rice pest management for farmers in Tung Chang District, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สกุลนุช แก้วเทพ, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การจัดการ
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--น่าน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวและความรู้ด้านการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร 3) การจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสานของเกษตรกร และ 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสานของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ปีการผลิต 2562/63 จํานวน 260 ครัวเรือนและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร านวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ใต้กลุ่มตัวอย่าง 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56,48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จํานวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.5) คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสมาชิก ธกส. มีจํานวนแรงงานภาคการเกษตร เฉลี่ย 1.93 คน พื้นที่การผลิตข้าว เฉลี่ย 11.51 ไร่ 2) สภาพการผลิตข้าว เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่ราบลุ่ม เป็นดินเหนียว โดยปลูกข้าวพันธุ์ กข 6 โดยแบบนาหว่านแห้ง โดยพบโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหญ้าดอกขาว 3) การจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 85.83 มีการเลือกใช้วิธีเกษตรกรรมมากที่สุดร่วมกับวิธีการใช้สารเคมี การใช้สารสกัดจากธรรมชาติ การใช้พันธุ์ต้านทานและพันธุ์ที่หลากหลาย 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสานของเกษตรกร พบปัญหาด้านความพร้อมของเกษตรกรที่มีต่อการปฏิบัติในการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสาน 5) แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรต้องการองค์ความรู้ด้านการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสาน โดยวิธีส่งเสริมแบบกลุ่ม และโดยการสาธิต ข้อเสนอแนะเกษตรกรต้องการอบรมความรู้เรื่องการจัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสานอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10546
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons