Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10547
Title: แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Extension guidelines for management administration of Nong Rong Sub-district tapioca collaborative farming groups in Phanom Thuan District, Kanchanaburi Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร รามเนตร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง--การจัดการ--ไทย
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--กาญจนบุรี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสําปะหลัง 2) การบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 3) ปัญหาและความต้องการแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่มันสําปะหลังตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยประชากรที่ศึกษาในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลหนองโรง พ.ศ. 2562 จํานวน 123 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและประชากรที่ศึกษาในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานแปลงใหญ่และคณะกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง จำนวน 19 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงครบทุกกลุ่มเป็นจํานวน 11 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 81.3 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.90 ปี ร้อยละ 74.0 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาการเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม เฉลี่ย 2.75 ปี มีรายได้จากภาคการเกษตร เฉลี่ย 32,267.48 บาทต่อปี มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 33,478.24 บาทต่อปี และเกษตรกรร้อยละ 94.3 มีแหล่งสินเชื่อจากกลุ่มแปลงใหญ่ 2) เห็นด้วยกับการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลังทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการจัดการองค์กร การจัดคนเข้าทํางาน การอ่านวยการ และการควบคุมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการบริหารจัดการกลุ่มด้านการจัดการองค์กรและด้านการจัดคนเข้าทํางานอยู่ในระดับมากที่สุด 3) เกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ทั้ง 5 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยประเด็นที่เป็นปัญหาสูงสุด คือ กลุ่มขาดการร่วมกันวางแผนกิจกรรมกลุ่มที่จะดำเนินการในแต่ละครั้ง โดยเกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยประเด็นที่มีความต้องการสูงสุด คือ กลุ่มควรมีการวางแผนด้านการเงิน และด้านงบประมาณของกลุ่มร่วมกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10547
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons