กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10553
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเรื่องการท่องเที่ยงเชิงนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A computer-based learning package via network in a short vocational course on the topic of ecotourism for upper secondary level students of the Non-formal Education Centre at Ko Pha-ngan District in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ แตงตาด
กัลยาณี พิริยสถิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิคม ทาแดง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์ การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ที่เรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เรื่องการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีต่อชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2551 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพของชุดการเรียน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายในระดับเห็นด้วยมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10553
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons