กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10554
ชื่อเรื่อง: ข้อสงวนในการแก้ไขคำพิพากษาของศาลปกครองในคดีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับค่าเสียหายทางร่างกายจากมลพิษซึ่งยังไม่ปรากฏอาการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The administrative court reservation in environment case for the compensation of the future pollution - relate body injuring
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจนวิทย์ แสนเมือง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชดใช้ค่าเสียหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎีและหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดข้อสงวนในการแก้ไขคำพิพากษาของศาลปกครองในคดีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับค่าเสียหายทางร่างกายจากมลพิษซึ่งยังไม่ปรากฏอาการของประเทศไทย และต่างประเทศ (2) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการกำหนดข้อสงวนในการแก้ไขคำพิพากษาของศาลปกครองในคดีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับค่าเสียหายทางร่างกายจากมลพิษ ซึ่งยังไม่ปรากฏอาการของประเทศไทย และ (3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หรือแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้กำหนดขอสงวนในการแก้ไขคำพิพากษาของศาลปกครองในคดีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับค่าเสียหายทางร่างกายจากมลพิษ ซึ่งยังไม่ปรากฏอาการของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งได้ศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมจากบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสารวิชาการ บทความทางวิชาการ ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ คำสั่ง คำพิพากษาของศาลปกครอง รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎีและหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดข้อสงวนในการแก้ไขคำพิพากษาของศาลปกครองในคดีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับค่าเสียหายทางร่างกายจากมลพิษ ซึ่งยังไม่ปรากฏอาการของประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายได้อย่างเหมาะสม ไม่สอดคล้องและเท่าทันกับสถานการณ์ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีแนวคิด ทฤษฎีความรับผิดอย่างเคร่งครัด มีการบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายไว้อย่างชัดเจนโดยต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น ถึงแม้มิได้กระทำการโดยจงใจ หรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อก็ตาม (2) ในประเทศไทย ศาลปกครองยังไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะจึงต้องนำหลักกฎหมายละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การสงวนสิทธิในการแก้ไขคำพิพากษาของศาลปกครองยังคงเป็นไปตามหลักกฎหมายละเมิด จึงไม่สามารถเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม (3) ผู้ศึกษาเห็นควรให้มีวิธีพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแยกต่างหากจากวิธีพิจารณาคดีปกครองทั่วไป ส่วนการกำหนดค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายทางร่างกาย ซึ่งยังไม่ปรากฏอาการ ศาลปกครองควรนำทฤษฎีความน่าจะเป็นมาปรับใช้ควบคู่กับทฤษฎีความรับผิดโดยเคร่งครัด และให้มีการบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายไว้ให้ชัดเจนแยกออกมาจากวิธีพิจารณาคดีปกครองทั่วไป ส่วนการตั้งข้อสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขคำพิพากษาให้ศาลปกครองมีอำนาจที่จะกล่าวในคำพิพากษา หรือคำสั่งว่ายังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดตามรูปคดี ทั้งนี้ ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10554
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons