กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10559
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมสู่การท่องเที่ยว : กรณีหมู่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Economic stuctural change from agriculture to tourism : the case of Mae Kampong village, Amphoe Mae on district, Chiangmai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์
ธิดารัตน์ ชุมภูบาง, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การปรับโครงสร้างนโยบายเศรษฐกิจ--ไทย--เชียงใหม่
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
แม่กำปอง (เชียงใหม่)--ภาวะเศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจชุมชนจากหมู่บ้านเกษตรกรรมสู่หมู่บ้านท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาบทบาทของแหล่งเงินทุนที่มีผลต่อเศรษฐกิจชุมชน และ 3) เพื่อศึกษากลไกของเศรษฐกิจชุมชนที่ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามปลายปิดและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) สมาชิกภายในชุมชน จํานวน 100 ชุด และ 2) กลุ่มผู้นําชุมชน ประกอบด้วย พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ผู้อาวุโส จำนวน 11 คน โดยได้ทำการศึกษา 2 ช่วง คือ ก่อนการเปลี่ยนแปลง (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน - พ.ศ. 2542 ) และหลังการเปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2543 - 2561) ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจชุมชน ทําให้การประกอบอาชีพส่วนใหญ่จากภาคเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นการประกอบอาชีพอยู่ในภาคบริการควบคู่กับภาคเกษตรกรรม ส่งผลให้รายได้ของครัวเรือนจากเดิมมีรายได้น้อยและไม่คงที่ โดยปี พ.ศ. 2562 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เงินออมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24 เป็นร้อยละ 47 และหนี้สินลดลงจากร้อยละ 26 เป็นร้อยละ 20 นอกจากนั้น รายได้จากการท่องเที่ยวยังก่อให้เกิดสวัสดิการให้กับคนในชุมชน และมีกองทุนกลางของหมู่บ้านเพื่อให้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาหมู่บ้าน 2) บทบาทของแหล่งเงินทุนที่สำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่กำปอง จำกัด โดยเป็นแหล่งกู้ยืมที่สำคัญของชุมชน และเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรายได้จากการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งรายได้ของสหกรณ์ฯ ที่มาจากการท่องเที่ยว ไฟฟ้าพลังงานน้ำ และอื่นๆ เกิดการกระจายรายได้คืนสู่สมาชิกในรูปแบบเงินปันผล รวมทั้งมีการรับซื้อสินค้าทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าในราคาที่เป็นธรรม และ 3) กลไกที่ทำให้เศรษฐกิจชุมชนแม่กำปองเกิดการพัฒนา ได้แก่ การมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง การรักษาธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต การมีส่วนร่วม และเคารพ กฎ กติกาของคนในชุมชนวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ การรวมกลุ่ม การให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา รวมทั้งส่งเสริมให้หมู่บ้านเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ ดังนั้น ควรมีการสนับสนุนส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้และสืบสานวิถีชีวิตให้คงเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนบ้านแม่กำปองต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons