Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1055
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorยุพา บุญชิด, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-26T07:04:24Z-
dc.date.available2022-08-26T07:04:24Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1055-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับกลิ่นเหม็นก่อนและหลังการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 จากการลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง (2) ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 ในการลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสําปะหลัง และ (3) ลักษณะน้ำเสียที่เป็นค่าความเป็นกรดเป็นด่าง สารแขวนลอย บีโอดี และซีโอดี จากการบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 ในระยะเวลาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ 24 ชั่วโมงที่ระดับกลิ่นเหม็นน้อยที่สุด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสําปะหลัง 1 แห่งในจังหวัดกำแพงเพชรมาทําการทดลอง 4 การทดลอง แต่ละการทดลองใช้ตัวอย่างน้ำเสีย จํานวน 16 ตัวอย่างตาม ชนิดของสูตรจุลินทรีย์ 4 สูตร ได้แก่ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สารเร่ง พด.6 สูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 ในอัตราส่วนของจุลินทรีย์ต่อน้ำ และระยะเวลาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ทําการดม เพื่อหาระดับกลิ่นเหม็นและประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและ สารเร่งพด.6 ในการลดกลิ่นเหม็นน้ำเสีย โดยใช้อาสาสมัครผู้ทดสอบกลิ่น จํานวน 6 คน และบันทึกผลการตรวจวัดระดับกลิ่นเหม็นในแบบประเมินผล ตอนที่ 2 เก็บตัวอย่างน้ำเสียก่อนและหลังการใช้ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่งพด.6 ในช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 24 ชั่วโมงที่มีระดับกลิ่นเหม็นน้อยที่สุด ส่งตัวอย่างน้ำเสียไปยัง ห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง สารแขวนลอย บีโอดี และซีโอดี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับกลิ่นเหม็นหลังการใช้ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 จากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลังลดลงทุกสูตร โดยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สารเร่ง พด.6 สูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 มีค่าเฉลี่ยระดับกลิ่นเหม็น 2.44, 2.56, 3.22 และ 2.72 ตามลำดับ จากค่าระดับกลิ่นเหม็นมากที่สุดในช่วง 5.50 - 6.00 (2) ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สารเร่ง พด.6 สูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 ลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ร้อยละ 45.92, 43.33, 2537 และ 31.29 ตามลำดับ และ (3) หลังจากการบำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ และสารเร่ง พด.6 ที่ระยะเวลาการย่อยสลายที่ 24 ชั่วโมงพบว่าลักษณะน้ำเสียลดลงแต่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานนํ้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ประสิทธิภาพของจุลินทรี ย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สามารถลดกลิ่นและบำบัดน้ำเสียดีที่สุดและค่าใช้จ่ายของ พด.6 สูตรที่ 2 มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเทคโนโลยีชีวภาพจุลชีพth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์th_TH
dc.subjectน้ำเสีย--การบำบัด--วิธีทางชีวภาพth_TH
dc.subjectโรงงานแป้งมันสำปะหลัง--การกำจัดของเสียth_TH
dc.titleการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 เพื่อลดกลิ่นเหม็นและบำบัดเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง จังหวัดกำแพงเพชรth_TH
dc.title.alternativeUse of effective microorganism and promotor PD 6 to reduce Stench and waste water treatment from a cassava starch factory in Kamphaengphet provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were : (1) to study levels of stench before and after using effective microorganisms (EM) and promoter (PD. 6) from wastewater of a Cassava starch factory; (2) to study the efficiency of EM and promoter PD. 6 for reducing stench from wastewater of the factory; and (3) to study wastewater characteristics as pH, suspended solids, BOD, COD from wastewater treatment of EM and promoter PD. 6 in 24 hours of microbial degradation duration at the least stench level. This study was an experimental research by collecting wastewater samples from a Cassava starch factory in Kamphaengphet Province for conducting 4 experiments. A total of 16 wastewater samples were used in each experiment according to types of 4 microbial formulas including EM formula 1, EM formula 2, promoter PD. 6 formula 1, and promoter PD. 6 formula 2 in different microorganism - water ratios and microbial degradation durations The study was divided into 2 parts. Part 1 smelling method by 6 panelists was used for finding stench level and efficiencies of EM and promoter PD. 6 in reducing wastewater stench and stench levels were then recorded in evaluation form. Part 2 the wastewater samples were collected before and after using EM and promoter PD.6 in 24 hours of microbial degradation duration at the least stench level. The samples were sent to a laboratory in order to analyze water quality, pH, suspended solids, BOD, and COD. Statistics employed in data analysis were mean, percentage, and standard deviation. The findings of the study showed that ะ (1) the levels of the stench after using EM and promoter PD. 6 from the wastewater were reduced in every formula. EM formula 1, EM formula 2, promoter PD. 6 formula 1, and promoter PD. 6 formula 2 caused average stench levels at 2.44, 2.56, 3.22, and 2.72, respectively, from the highest stench levels between 5.50-6.00; (2) the efficiencies of EM formula 1, EM formula 2, promoter PD. 6 formula 1, and promoter PD. 6 formula 2 reduced the stench levels at 45.92, 43.33, 25.37, and 31.29, respectively; and (3) after microbial wastewater treatment by EM and promoter PD. 6 in 24 hours of microbial degradation duration, wastewater characteristics were reduced but did not comply with the industrial wastewater standard. Research suggestions were that EM formula 1 had the highest efficiency in reducing stench and treating wastewater and the cost of growth promoter (PD. 6) was lowesten_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122095.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons