Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1055
Title: | การใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 เพื่อลดกลิ่นเหม็นและบำบัดเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง จังหวัดกำแพงเพชร |
Other Titles: | Use of effective microorganism and promotor PD 6 to reduce Stench and waste water treatment from a cassava starch factory in Kamphaengphet province |
Authors: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย ยุพา บุญชิด, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีชีวภาพจุลชีพ จุลินทรีย์ น้ำเสีย--การบำบัด--วิธีทางชีวภาพ โรงงานแป้งมันสำปะหลัง--การกำจัดของเสีย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับกลิ่นเหม็นก่อนและหลังการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 จากการลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง (2) ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 ในการลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสําปะหลัง และ (3) ลักษณะน้ำเสียที่เป็นค่าความเป็นกรดเป็นด่าง สารแขวนลอย บีโอดี และซีโอดี จากการบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 ในระยะเวลาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ 24 ชั่วโมงที่ระดับกลิ่นเหม็นน้อยที่สุด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสําปะหลัง 1 แห่งในจังหวัดกำแพงเพชรมาทําการทดลอง 4 การทดลอง แต่ละการทดลองใช้ตัวอย่างน้ำเสีย จํานวน 16 ตัวอย่างตาม ชนิดของสูตรจุลินทรีย์ 4 สูตร ได้แก่ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สารเร่ง พด.6 สูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 ในอัตราส่วนของจุลินทรีย์ต่อน้ำ และระยะเวลาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ทําการดม เพื่อหาระดับกลิ่นเหม็นและประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและ สารเร่งพด.6 ในการลดกลิ่นเหม็นน้ำเสีย โดยใช้อาสาสมัครผู้ทดสอบกลิ่น จํานวน 6 คน และบันทึกผลการตรวจวัดระดับกลิ่นเหม็นในแบบประเมินผล ตอนที่ 2 เก็บตัวอย่างน้ำเสียก่อนและหลังการใช้ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่งพด.6 ในช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 24 ชั่วโมงที่มีระดับกลิ่นเหม็นน้อยที่สุด ส่งตัวอย่างน้ำเสียไปยัง ห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง สารแขวนลอย บีโอดี และซีโอดี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับกลิ่นเหม็นหลังการใช้ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและสารเร่ง พด.6 จากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลังลดลงทุกสูตร โดยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สารเร่ง พด.6 สูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 มีค่าเฉลี่ยระดับกลิ่นเหม็น 2.44, 2.56, 3.22 และ 2.72 ตามลำดับ จากค่าระดับกลิ่นเหม็นมากที่สุดในช่วง 5.50 - 6.00 (2) ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สารเร่ง พด.6 สูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 ลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ร้อยละ 45.92, 43.33, 2537 และ 31.29 ตามลำดับ และ (3) หลังจากการบำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ และสารเร่ง พด.6 ที่ระยะเวลาการย่อยสลายที่ 24 ชั่วโมงพบว่าลักษณะน้ำเสียลดลงแต่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานนํ้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ประสิทธิภาพของจุลินทรี ย์ที่มีประสิทธิภาพ สูตรที่ 1 สามารถลดกลิ่นและบำบัดน้ำเสียดีที่สุดและค่าใช้จ่ายของ พด.6 สูตรที่ 2 มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1055 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
122095.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License