Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10561
Title: รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Other Titles: An appropriate educational provision model for children and youths in the children and youths training centers under the Department of Youth Observation and Protection
Authors: นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์
ศรา หริ่งโสภา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
การจัดการศึกษา--ไทย
เด็ก--การศึกษา
เยาวชน--การศึกษา.--ไทย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กและเยาวชนที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้าน กรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขาและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปราณี จำนวนรวม 282 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติที่แสดงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์ ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีดังนี้ (1) ด้านหลักสูตร ควรจัดหลักสูตรสายสามัญขั้นพื้นฐาน หลักสูตรวิชาชีพ หลักสูตรทักษะชีวิต และหลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชนและสังคม (2) ด้าน เวลาที่จะจัดการเรียนการสอน ควรจัดให้มีการเรียนการสอนทั้งวัน โดยคำนึงถึงหลักสูตรและ ลักษณะของวิชา (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดแบบเรียนในชั้นเรียน และแบบเรียน แบบพบกลุ่ม (4) ด้านกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ควรจัดกิจกรรมที่ให้เด็กและเยาวชนได้ มีโอกาสออกไปเรียนรู้ภายนอกศูนย์ฝึกฯ (5) ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ การเรียนการสอนให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน (6) ด้านสถานที่สำหรับการจัดการเรียนการสอน ควรจัดให้มีห้องเรียนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีเสียงรบกวน มีสื่อสำหรับการเรียนการสอน พร้อม (7) ด้านแหล่งการเรียนรู้ ควรจัดให้มีห้องสมุดไว้ให้เด็กและเยาวชนได้ใช้บริการโดยมี เจ้าหน้าที่คอยดูแล (8) ด้านผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอน ควรมีกระบวนการคัดเลือกบุคคลที่เป็น มาตรฐาน มีความเป็นครูและมีความรู้ด้านจิตวิทยาวัยรุ่น (9) ด้านความต้องการหลังจากเรียนจบ หลักสูตร ควรประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การรับรองวุฒิบัตรที่เด็กและเยาวชนได้รับ หลังจากเรียนจบหลักสูตร
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10561
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons