กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10563
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Waste management development of Pattaya City Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
มาลัย เขียวทอง, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การกำจัดขยะ--ไทย--ชลบุรี
การคัดแยกขยะ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยา (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยา (4) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา จำนวน 78,055 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้ 400 คน ด้วยสูตรของทาโร ยามาเน ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิสำหรับผู้บริหารและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยา ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า (1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยาอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่การกาจัดหรือทำลายขยะ การจัดเก็บขยะ การควบคุมปริมาณขยะและการคัดแยกขยะ เรียงตามลำดับ (2) ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในของเมืองพัทยาที่สำคัญ คือ การฝังกลบขยะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดการร้องเรียนจากชุมชน ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี จำนวนรถขนขยะไม่เพียงพอในการจัดเก็บขยะจึงทำให้ขยะตกค้าง เกิดการเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น และพนักงานเก็บขยะมีจำนวนไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณขยะที่ต้องเก็บในแต่ละวัน (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเมืองพัทยาที่สำคัญ ได้แก่ ควรใช้วิธีกำจัดขยะโดยการเผาและแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ควรจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกวิธีแก่ชุมชน ควรเพิ่มรถขนขยะตามจำนวนรถที่เสีย หรือชำรุด และควรจัดซื้อจัดจ้างเอกชนที่มีความพร้อมเข้ามาจัดการขยะมูลฝอยร่วมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10563
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons