กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10567
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the performance of foreign exchange workers in Huay Kwang District, Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิทักษ์ ศรีสุขใส
วงศกร พรหมสาขา ณ สกลนคร, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ปริวรรตเงินตรา--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนีใช้แบบสอบถามถามพนักงานบริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด จำนวน 174 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายประสิทธิภาพการทํางานของพนักงาน และแบบจําลอง โลจิสติกเพื่ออธิบายปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ผลการศีกษาพบว่า 1) ข้อมูลการมีประสิทธิภาพในการทํางาน ด้านปัจจัยในการทํางานค่าเฉลี่ยของพนักงานมีการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์สูงสุด มีค่าเท่ากับ 4.21 การมีประสิทธิภาพด้านปัจจัยเวลา ค่าเฉลี่ยของพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้เสร็จเรียบร้อยภายในเวลาที่กําหนด มีค่าเท่ากับ 4.14 ด้านปัจจัยการปราศจากความผิดพลาดในการทํางาน ค่าเฉลี่ยของพนักงานที่ไม่เคยชดใช้ค่าเสียหายจากการปฏิบัติงานผิดพลาด เท่ากับ 3.96 และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เพศ ซึ่งเพศหญิงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเพศชาย และสถานภาพสมรส โดยพนักงานที่มีสถานภาพสมรสมีประสิทธิภาพมากกว่าพนักงานที่มีสถานภาพโสด ส่วนการอบรมหรือเพิ่มพูนความรู้ทักษะในการปฏิบัติงาน พนักงานที่ได้รับการอบรมมีประสิทธิภาพมากกว่าพนักงานที่ไม่ได้รับการอบรม สําหรับรายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10567
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons