Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10569
Title: ความคิดเห็นต่อการใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Opinion towards using Krungthai NEXT application of customer of Krungthai Bank Public Company Limited in Ubon Ratchathani Province
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วารุณี ธรรมภิบาล, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดอุบลราชธานี (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามลักษณะทางประชากร และ (4) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดอุบลราชธานีจำแนกตามลักษณะทางประชากร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของธนาคารกรุงไทย จำกด (มหาชน) ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40,556 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้ 397 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติเชิงพรรณาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) การยอมรับการใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกด (มหาชน) จังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งานด้วยค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2) การตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมอยูในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์เพราะช่วยให้ทำธุรกรรมทางการเงินเสียเวลาน้อยกว่าการทำธุรกรรมในช่องทางอื่นด้วยค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยพฤติกรรมหลังซื้อ กลุ่มตัวอย่างจะใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์อย่างต่อเนื่องในอนาคตด้วยค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรต่างกันมีความคิดเห็นการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันกรุงไทยเน็กซ์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท มีอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีการยอมรับและการตัดสินใจใช้งานมากกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10569
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons