กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10581
ชื่อเรื่อง: | การกำหนดเหตุฉกรรจ์และคำนิยามของผู้กระทำความผิดทางเพศตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Determination of aggravating circumstance and definition of sex offender under article 285 of Thailand Penal Code |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัณณวิช ทัพภวิมล รุจิกร อินทรสกุล, 2537- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี อาชญากรรมทางเพศ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีในความผิดเกี่ยวกับเพศในความสัมพันธ์ของบุคคลที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษหนักขึ้น จากกฎหมายประเทศไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (2) ศึกษากฎหมาย สำหรับความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางเพศให้รับโทษที่หนักขึ้นทั้งในส่วนของจากกฎหมายประเทศไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ อาทิ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) ศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของบุคคลโทษที่ต้องรับโทษหนักขึ้นทั้งในส่วนของกฎหมายประเทศไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ อาทิ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการให้คำนิยามให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเอกสารข้างต้น เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผิดเกี่ยวกับเพศในส่วนความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีผลให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นของกฎหมายไทย มิได้ให้คำจำกัดความที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงในกรณีผู้กระทำความผิดที่อยู่ในสถานะบิดาเลี้ยงหรือมารดาเลี้ยง ทั้งที่เป็นลักษณะกรณีผู้ใกล้ชิดลำดับแรก และเป็นกรณีที่มักมีเหตุปรากฏเป็นบ่อยครั้ง (2) บทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาไทยตามมาตรา 285 เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ อาทิ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้ว มิได้ให้คำนิยามครอบคลุมลักษณะของผู้ก่อเหตุที่มีลักษณะใกล้ชิดโดยอาศัยความสัมพันธ์พิเศษในการก่อเหตุทางเพศให้ได้รับโทษหนักขึ้น (3) มาตรการทางกฎหมายอาญาของประเทศไทยตามมาตรา 285 ควรทำการแก้ไขเพิ่มเติมโดยการกำหนดสถานะของผู้ปกครองที่จะต้องรับโทษหนักขึ้นทั้งโดยกฎหมายและตามความเป็นจริง (4) บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยตามมาตรา 285 สมควรอย่างยิ่งในการเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 1 ในการให้หมายความหรือคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับกรณีเหตุความผิดทางเพศที่ก่อโดยผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10581 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168793 FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License