Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวรรณิศา คำฟูบุตร, 2537--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-22T09:11:06Z-
dc.date.available2023-11-22T09:11:06Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10586-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการกระทำความผิดที่ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด (2) ศึกษาการควบคุม การค้น การยึด พยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) ศึกษาถึงปัญหาในการดำเนินคดีอาญาในส่วนของการควบคุม การค้น การยึด พยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ (5) ศึกษาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความในวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แตกต่างไปตามความประสงค์ของอาชญากรว่าต้องการให้เกิดความเสียหายรูปแบบใด ซึ่งรูปแบบการกระทำความผิดเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี (2) ประเทศไทยที่กำหนดให้การค้นของเจ้าพนักงานในที่รโหฐานต้องมีหมายค้นเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) กฎหมายการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทยกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกามีความคล้ายคลึงกันโดยมีบทบัญญัติกฎหมายเฉพาะแตกต่างจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีไม่มีกฎหมายเฉพาะแต่บัญญัติเพิ่มเติมในกฎหมายอาญา (4) ปัญหาการดำเนินคดีอาญา กรณีการค้น การยึด พยานหลักฐานและปัญหาการซ้ำซ้อนระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับพนักงานสอบสวน (5) ผู้ศึกษาเห็นควรมีการจัดตั้งสำนักงานอัยการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาคำร้องการค้น การยึด พยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 29 วรรค 2 กำหนดให้อำนาจในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการประสานงาน.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพยานหลักฐานคดีอาญาth_TH
dc.subjectอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาของการดำเนินคดีอาญา ศึกษากรณีการค้น การยึด พยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์th_TH
dc.title.alternativeThe problem of criminal prosecution : a case study of search, seizure, and evidence from the commission of computer crimesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วรรณิศา คาฟูบุตร.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons