กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10586
ชื่อเรื่อง: ปัญหาของการดำเนินคดีอาญา ศึกษากรณีการค้น การยึด พยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problem of criminal prosecution : a case study of search, seizure, and evidence from the commission of computer crimes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณิศา คำฟูบุตร, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานหลักฐานคดีอาญา
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การศึกษาอิสระ -- กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการกระทำความผิดที่ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด (2) ศึกษาการควบคุม การค้น การยึด พยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) ศึกษาถึงปัญหาในการดำเนินคดีอาญาในส่วนของการควบคุม การค้น การยึด พยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ (5) ศึกษาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความในวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แตกต่างไปตามความประสงค์ของอาชญากรว่าต้องการให้เกิดความเสียหายรูปแบบใด ซึ่งรูปแบบการกระทำความผิดเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี (2) ประเทศไทยที่กำหนดให้การค้นของเจ้าพนักงานในที่รโหฐานต้องมีหมายค้นเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) กฎหมายการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายไทยกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกามีความคล้ายคลึงกันโดยมีบทบัญญัติกฎหมายเฉพาะแตกต่างจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีไม่มีกฎหมายเฉพาะแต่บัญญัติเพิ่มเติมในกฎหมายอาญา (4) ปัญหาการดำเนินคดีอาญา กรณีการค้น การยึด พยานหลักฐานและปัญหาการซ้ำซ้อนระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับพนักงานสอบสวน (5) ผู้ศึกษาเห็นควรมีการจัดตั้งสำนักงานอัยการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาคำร้องการค้น การยึด พยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 29 วรรค 2 กำหนดให้อำนาจในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการประสานงาน.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10586
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
วรรณิศา คาฟูบุตร.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons