กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10589
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์การเกษตรสูงเม่น จำกัด จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the development of product sourcing businesses of the Sung Men Agricultural Cooperative Limited, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรชัย สิงหฤกษ์
จีรานุช แข็งแรง, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรสูงเม่น จำกัด 2) ศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ 4) วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรสูงเม่น จำกัด จำนวน 2,978 คน ข้อมูลในปี 2562 ได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 –40 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา สถานภาพสมรส มีระยะเวลาการเป็นสมาชิก 0-5 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท และมีขนาดของพื้นที่ทำการเกษตร 1-5 ไร่ 2) ส่วนประสมการตลาดมีผลต่อการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ในภาพรวม มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า เพศ ขนาดของพื้นที่ทำการเกษตรด้านราคา พบว่า ระยะเวลาการเป็นสมาชิก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ระยะเวลาการเป็นสมาชิก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ขนาดของพื้นที่ทำการเกษตร ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า อายุ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ขนาดของพื้นที่ทำการเกษตร ด้านบุคคล พบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้านลักษณะทางกายภาพ พบว่า ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ขนาดของพื้นที่ทำการเกษตรและด้านกระบวนการ พบว่า ระยะเวลาการเป็นสมาชิก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ขนาดของพื้นที่ทำการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์การเกษตรสูงเม่น จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย คือ สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งการใช้บริการสหกรณ์ หากใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาธุรกิจเพื่อจัดหาสินค้าที่เหมาะสมมาจำหน่ายให้สมาชิก ข้อเสนอแนะควรศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาธุรกิจการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10589
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons