Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10595
Title: | ความต้องการเว็บไซต์ของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน โรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก |
Other Titles: | Needs for website of school according to opinions of teachers and students of Phatthara Witthaya School, Mae Sot District, Tak Province |
Authors: | ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ ประภาส กุนุ, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาเว็บไซต์ การศึกษากับเทคโนโลยี การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการเว็บไซต์ของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและนักเรียนโรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประชากร ได้แก่ ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนภัทรวิทยา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 500 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 80 คน และนักเรียน จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการเว็บไซต์ของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ความต้องการเว็บไซต์ของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนภัทรวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดแต่ละด้าน คือ ด้านเนื้อหา ได้แก่ มีข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารงานวิชาการให้ครูดาวน์โหลด ด้านรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่ ขนาดตัวอักษรและรูปแบบตัวอักษรมีความสวยงามและอ่านได้ง่าย ด้านการออกแบบเว็บไซต์ ได้แก่ ลักษณะภาพประกอบเว็บสวยงามน่าสนใจและทันสมัย และด้านประโยชน์และการนำไปใช้งานเว็บไซต์ ได้แก่ สามารถเข้าถึงกลุ่มบุคคลเป้าหมายได้ง่ายขึ้น สำหรับความต้องการเว็บไซต์ของโรงเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนภัทรวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน และปานกลาง 1 ด้าน โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน คือ ด้านเนื้อหา ได้แก่ ภาพประกอบกับเนื้อหาในเว็บไซต์มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ด้านรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่ ขนาดตัวอักษรและรูปแบบตัวอักษรมีความสวยงามและอ่านได้ง่าย ด้านการออกแบบเว็บไซต์ ได้แก่ มีระบบการใช้งานที่ถูกต้อง เหมาะสม และด้านประโยชน์และการนำไปใช้งานเว็บไซต์ ได้แก่ สามารถเป็นแหล่งความรู้ได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10595 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
162224.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License